มาทำความรู้จัก “หมากฮอส”
มาทำความรู้จัก “หมากฮอส”
หมากฮอส (ภาษาอังกฤษแบบบริติช: draughts, ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน : checkers)
เป็นกลุ่มเกมกระดานวางแผนสำหรับผู้เล่นสองคน ซึ่งเกี่ยวข้องกับการเดินหมากเหมือนกันในแนวทแยงและการยึดบังคับโดยโดดข้ามหมากฝั่งตรงข้าม หมากฮอสพัฒนามาจาก Alquerque
ประวัติ
ประวัติกีฬาหมากฮอส เชื่อกันว่า หมากฮอส ก็คือกีฬาที่ดัดแปลงมาจาก หมากรุก นั่นเอง
โดยดัดแปลงนำเอามาแต่เบี้ย
และกำหนดกฎกติกาให้มีความง่ายขึ้น เล่นง่ายขึ้น แม้แต่เด็กยังเรียนรู้การเล่นหมากฮอสได้อย่างรวดเร็ว
ซี่งการเดินของหมากฮอส จะคล้ายกับการเดินของควีน ในหมากรุก แต่ไม่สามารถเดินถอยหลังได้ จนกว่าจะเดินสุดกระดาน ก็จะเกิดการเปลี่ยนแปลงการเดินตามกติกาที่ตั้งไว้
หมากรุกมีต้นกำเนิดจากประเทศอินเดีย ทางตอนเหนือ เมื่อประมาณปี พ.ศ.1113
ส่วนหมากฮอสเริ่มเล่นกันที่ประเทศสเปน เมื่อ พ.ศ.2090 ก่อนที่จะเริ่มแพร่หลายและได้รับความนิยมไปทั่วโลก
ในระยะแรกหมากฮอสยังไม่ได้รับการยอมรับและได้รับการขนานนามว่าเป็นหมากสำหรับผู้หญิง
และกติกาของหมากฮอสแต่ละท้องถิ่นก็ไม่เหมือนกัน เช่น บางประเทศ หมากจะกินฮอสไม่ได้
บางประเทศใช้ตาราง 10×10 ช่อง มีหมากข้างละ 20 เป็นต้น
หมากฮอสสากล มีการแข่งขันในระดับประเทศและต่างประเทศ ได้รับการยอมรับกันทั่วโลก
ผู้เล่นจะมีหมากข้างละ 12 ตัว ฝ่ายสีดำจะเป็นผู้เริ่มก่อน เมื่อฝ่ายใดเข้าฮอส ก็จะนำหมากสีเดียวกันมาวางซ้อนกันอีก 1 ตัว
ฮอสจะเดินหน้าหรือถอยหลังกี่ช่องก็ได้ แต่แค่ในแนวทแยงเดียวกันเท่านั้น
และการเล่นหมากฮอสในปัจจุบันได้ถูกค้นคว้าทดลองการเดินในแง่มุมต่างๆมาแล้วหมดสิ้น
นักเล่นหมากฮอสที่เก่งๆ สามารถเดินเพื่อให้เสมอกันได้กี่กระดานก็ได้ ยกเว้นต้องการเดินเสี่ยงเพื่อเอาชนะ
ในการแข่งขันหมากฮอส จึงเต็มไปด้วยการเล่นที่เสมอกัน
เช่นการแข่งขันชิงแชมป์ระหว่างแอนดรูส์ แอนเดอสัน แชมป์โลกหมากฮอสคนแรก กับเจมส์ วิลลีย์ นักหมากฮอสที่มีชื่อเสียงที่สุดในอดีต มีการเสมอกันถึง 54 กระดาน
กีฬาหมากฮอสจึงได้ฉายาว่า “เป็นกีฬาแห่งการเสมอกัน”
ภายหลังได้เปลี่ยนกติกามาใช้กติกา 2 ก้าวบังคับ 47 วิธี และ 3 ก้าวบังคับ 137 วิธี สำหรับการเปิดหมาก ซึ่งเราได้ดัดแปลงนำมาใช้เมื่อปี พ.ศ.2427
ได้มีการจัดการแข่งขันประเภททีมระหว่างประเทศขึ้นครั้งแรก ระหว่างอังกฤษกับสกอตแลนด์ ปี พ.ศ.2448 อังกฤษแข่งกับสหรัฐอเมริกา ปัจจุบันยังจัดการแข่งขันกันอยู่
ตัวเดิน
- เบี้ย (อังกฤษ: Men) เป็นตัวเดินเริ่มแรกที่เดินได้ที่ละช่องเท่านั้น
- ฮอส (อังกฤษ: Kings) เมื่อเบี้ยเดินจนสุดกระดานของฝ่ายตรงข้าม เบี้ยตัวนั้นจะเป็นฮอส สามารถเดินได้จนสุดกระดานแต่บางประเทศเดินได้ทั้งข้างหน้าและหลัง ได้ทีละช่อง
- การกินสองต่อ ถ้ากินไปหนึ่งตัวแล้วในแถวนั้นยังมีหมากซึ่งด้านหลังไปหนึ่งช่องต้องไม่มีหมากหรือขอบกระดาน ถ้าตัวนั้นเป็นฮอส
ประเภท
ประเภทเบี้ยกินได้แค่ข้างหน้าและพอเป็นฮอสจะเดินได้ทั้งข้างหน้าและหลังได้จนสุดกระดาน
ชื่อหมากฮอส | คนละกี่ตัว | ตารางหมากฮอส | ใครเดินก่อน | คำอธิบายเพิ่มเติม |
---|---|---|---|---|
หมากฮอสมาเลเซีย/หมากฮอสสิงคโปร์ | 30 | 12×12 | ไม่แน่นอน | |
หมากฮอสตุรกี | 16 | 8×8 | ขาว | การจัดหมากเหมือนหมากรุกสากลแต่แค่ไปข้างหน้าอีก 1 ช่องการเดินก็ไม่เหมือนกับหมากฮอสทั่วไป |
หมากฮอสพม่า | 12 | 8×8 | ขาว | |
หมากฮอสเช็ก | 12 | 8×8 | ขาว |
ประเภทเบี้ยกินข้างหน้าและหลังได้พอเป็นฮอสจะเดินได้ทั้งข้างหน้าและหลังได้จนสุดกระดาน
ชื่อหมากฮอส | คนละกี่ตัว | ตารางหมากฮอส | ใครเดินก่อน | คำอธิบายเพิ่มเติม |
---|---|---|---|---|
หมากฮอสรัสเซีย | 12 | 8×8 | ขาว | |
หมากฮอสสากล | 20 | 10×10 | ขาว | |
หมากฮอสบราซิล | 12 | 8×8 | ขาว | |
หมากฮอสแคนาดา | 30 | 12×12 | ขาว |
ประเภทเบี้ยกินได้แค่ข้างหน้าเท่านั้นพอเป็นฮอสเดินได้ทั้งข้างหน้าและหลังได้แต่เดินได้แค่ 1 ช่อง
ชื่อหมากฮอส | คนละกี่ตัว | ตารางหมากฮอส | ใครเดินก่อน | คำอธิบายเพิ่มเติม |
---|---|---|---|---|
หมากฮอสอังกฤษ | 12 | 8×8 | ดำ | เป็นหมากฮอสที่คนส่วนใหญ่เข้าใจผิดคิดว่าเป็นหมากฮอสสากล |
หมากฮอสอิตาลี | 12 | 8×8 | ขาว |
หมากฮอสที่รูปร่างตัวกระดานและการเล่นแตกต่างจากหมากฮอสอื่น
หมากฮอสสากล 20 ตัว
หมากฮอสตุรกี 16 ตัว
หมากฮอสอิตาลี 12 ตัว
หมากฮอสไทย 8 ตัว
สนามแข่งขันในปัจจุบัน
หมากฮอสเป็นกีฬาในร่มที่นิยมเล่นกันมานาน มีสนามแข่งขันหมากฮอสใหญ่ๆ หลายสนาม เช่นการแข่งขันของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค การแข่งขันของสมาคมกีฬาไทยแห่งประเทศไทยการแข่งขันระดับภูมิภาค จังหวัด หรือประเทศ ตลอดจนการแข่งขันระดับโรงเรียน มหาวิทยาลัย ภาครัฐ เป็นต้น อีกทั้งในปัจจุบันกีฬาหมากฮอสได้มาการแพร่หลายอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะในทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้มีรายการแข่งขันเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก ตัวอย่างรายการกีฬาหมากฮอส กีฬานักเรียน อปท. กีฬาเยาวชนชิงแชมป์ประเทศไทย กีฬารัฐวิสาหกิจ กีฬาสาธิตสามัคคี กีฬามหาวิทยาลัย กีฬาประจำจังหวัด เป็นต้น
หมากฮอสนั้นได้ชื่อว่าเป็นกีฬาระดับปัญญาชน เป็นกีฬาที่ไม่ได้ใช้กำลัง แต่ใช้ความคิดและสติปัญญาเข้ามาประลองกัน เล่นเพื่อความสนุกสนานเพลิดเพลินก็ได้ หรือเล่นเพื่อฝึกสมองอย่างจริงจังก็ได้เช่นกัน นับเป็นกีฬาที่เล่นง่าย และน่าเล่นเป็นอย่างยิ่ง
หมากฮอสไทยเริ่มมีการแพร่หลายทั่วทั้งประเทศ ไม่ว่าจะเป็นเด็กเยาวชน จนกระทั่งผู้สูงอายุก็ตาม มีการขยายตัวตามสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ทั้งในภาครัฐและเอกชน ในขณะที่การแข่งขันกีฬาหมากฮอสไทยนั้นมีรายการแข่งขันในแต่ละปีค่อนข้างจำกัด อีกทั้งยังไม่สามารถเข้าถึงผู้เล่นได้มากนัก เนื่องจากการประชาสัมพันธ์ที่ไม่ดีเท่าที่ควร ทำให้นักกีฬาลงแข่งขันแต่ละประเภทค่อนข้างน้อย และการจัดการแข่งขันอาจจะยังไม่ได้มาตรฐานเท่าที่ควร มีโอกาสเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันต่าง ๆ หลังจากมีการประเมินผลหลังจากจัดการแข่งขันแล้ว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเวลา สถานที่ เจ้าหน้าที่หรือบุคลากร การตัดสิน แม้กระทั่งสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ